ชื่อสถานศึกษา(ไทย) โรงเรียนภัทรบพิตร
ชื่อสถานศึกษา(อังกฤษ) Phattharaborphit School
สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์(สพม.บุรีรัมย์)
รหัสโรงเรียน 31012002
รหัสโรงเรียน 10 หลัก 1031260847
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลัก 0994000850824
รหัส Smis 8 หลัก 31012002
รหัส Obec 6 หลัก 260847
ระดับที่เปิดสอน มัธยมศึกษาตอนต้น-มัธยมศึกษาตอนปลาย
ที่อยู่ 137 หมู่ที่ 11 ต.เสม็ด อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ 31000
Phattharaphit School 137 Village No. 11, Samet Subdistrict,
Mueang Buriram District. Buriram Province 31000,
โทรศัพท์ 044-611984
โทรสาร 044-612974
วัน-เดือน-ปี ก่อตั้ง 4 พฤษภาคม 2521
อีเมล์
เว็บไซต์ http://www.phatthara.ac.th
พิกัดที่ตั้งของโรงเรียน ละติจูด 14.949981 ลองติจูด103.0885433
1. พระสุภัทรบพิตร เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัดบุรีรัมย์ และโรงเรียนได้อิงพระนามของพระองค์ คือ ภัทรบพิตร พระพุทธรูปองค์สีเหลืองทอง แสดงถึงความมีคุณธรรมน่าเลื่อมใสศรัทธา
2. รูปเขากระโดงสีเทา 2 ลูก หมายถึง ความรู้ ซึ่งมีความมั่นคง ยั่งยืน
3. ลวดลายไทย หมายถึง ความอ่อนหวานนุ่มนวล อ่อนโยนของนักเรียนโรงเรียนภัทรบพิตร
4. สุโข ปัญญา ปฏิลาโภ อยู่ด้านบน และมี คำแปล “ผู้มีปัญญาเป็นสุขอย่างประเสริฐ” อยู่ด้านล่าง เป็นตัวอักษรสีขาวอยู่บนพื้นสีเทา
5. ชื่อโรงเรียนสีเหลืองอยู่บนแถบริบบิ้นสีแดง
ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ในขณะนั้นได้เสนอชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนภัทรบพิตร” ไปที่กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้รับอนุมัติให้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า “ภัทรบพิตร” อันเป็นการอิงพระนามของพระสุภัทรบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่บนเขากระโดงที่อยู่ใกล้กับบริเวณโรงเรียน
ได้รับความอนุเคราะห์จากแขวงการทางบุรีรัมย์ โดยกรมทางหลวงอนุญาตให้ใช้ที่ดิน กิโลเมตรที่ 4.916 ถึง 5.60 เส้นทางหลวงสาย บุรีรัมย์-ประโคนชัย จำนวนเนื้อที่ 85 ไร่73 ตารางวา และได้รับบริจาคเพิ่มเติมในปี พ.ศ.2543 จำนวน 13 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา จาก คุณกีรติจันทรา เจียวพันธ์
ประกาศตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2521 และเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 แต่เนื่องจากยังขาดบุคลากร และอาคารเรียน จึงได้ฝากให้นักเรียนเรียนที่บุรีรัมย์พิทยาคมและโรงเรียนเขตการทางสงเคราะห์ 5 (ไตรคามสิทธิศิลป์) จำนวนนักเรียนขณะนั้นทั้งสิน 527 คน มีครู 27 คน และเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2521 จึงได้ย้ายนักเรียน ณ ที่ตั้งโรงเรียนปัจจุบัน
1. สนับสนุนพัฒนาผู้เรียนให้คิด ให้เข้าใจ ประพฤติปฏิบัติในเรื่องเวลากติกา และวิชาการเป็นนิสัย
2. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ตามความสนใจและรู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ พร้อมทั้งพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
3. จัดหลักสูตรที่หลากหลายตามศักยภาพ ความสามารถ ความถนัดและความสนใจของผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย
4. ส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนมีสุขภาพและบุคลิกภาพที่ดี
5. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทยและสิ่งแวดล้อม
6. ส่งเสริมให้ผู้เรียนอยู่ในสังคมประชาธิปไตยอย่างมีความสุข ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และส่งเสริมให้ผู้เรียนมีรายได้ระหว่างเรียน ประหยัดและอดออมพึ่งพาตนเองได้
1. พัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. ส่งเสริมความเป็นเลิศด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา
กลยุทธ์ที่ 1 : พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 2 : สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ประชากรในวัยเรียนอย่างทั่วถึง
กลยุทธ์ที่ 3 : ส่งเสริมพัฒนาบุคลากรสู่ครูมืออาชีพ
กลยุทธ์ที่ 4 : ส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 5 : ส่งเสริมผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามความถนัดและความสนใจ
กลยุทธ์ที่ 6 : ระดมทรัพยากรและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
กลยุทธ์ที่ 7 : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และองค์กรที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา
โรงเรียนภัทรบพิตร ตั้งอยู่ เลขที่ 137 หมู่ที่ 11 ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
บนเนื้อที่ 95 ไร่ 2 งาน 87 ตารางวา มีอาณาเขต ดังนี้
ทิศเหนือ จรด สำนักงานตำรวจทางหลวง จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้ จรด ทางหลวงแผ่นดิน
ทิศตะวันออก จรด แขวงทางหลวงบุรีรัมย์
ทิศตะวันตก จรด หมู่บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ 9 ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
การคมนาคม
ตั้งอยู่ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 สายบุรีรัมย์-ประโคนชัย ระหว่าง กิโลเมตรที่ 4.916 – 5.600
เขตพื้นที่บริการ
รับผิดชอบเขตพื้นที่บริการทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
ในเขตอำเภอเมืองบุรีรัมย์และใกล้เคียง มีโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่บริการ 12 โรงเรียน ได้แก่
.
1. โรงเรียนชุมชนบ้านหัววัว 2. โรงเรียนบ้านเสม็ดโคกตาล 3. โรงเรียนบ้านตลาดควาย 4. โรงเรียนวัดบ้านสะแกซำ 5. โรงเรียนวัดบ้านเย้ยสะแก 6. โรงเรียนโสภณวรวัฒน์วิทยา 7. โรงเรียนประชาสวัสดิ์วิทยา 8. โรงเรียนบ้านสารภี |
9. โรงเรียนบ้านฝังงา 10. โรงเรียนบ้านโคกหัวช้าง 11. โรงเรียนบ้านโคกเขา 12. โรงเรียนพระพุทธบาทเขากระโดง |
สภาพเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ มีอาชีพหลัก คือ ทำนา และทำไร่อ้อยบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชผักสวนครัว เพื่อบริโภค ในครัวเรือน และมีการปลูกพืชการเกษตรระยะสั้นหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว เช่น การปลูกข้าวโพด งา ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว แตงกวา และมีประชากรส่วนหนึ่งมีอาชีพรับจ้างในเมืองและอพยพไปรับจ้างในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ