ประวัติความเป็นมา

ประวัติโรงเรียน

                        โรงเรียนภัทรบพิตรเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประเภทสหศึกษา สังกัดกองการมัธยมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  ริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 สายบุรีรัมย์ – ประโคนชัยสืบเนื่องมาจากมีพระบรมราชโองการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2520 และขณะเดียวกันนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาประถมศึกษา มีความประสงค์ที่จะศึกษาต่อ ระดับมัธยมศึกษาเป็นจำนวนมากจึงทำให้โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม  ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งเดียวในเขตอำเภอเมือง ในขณะนั้นไม่สามารถรับนักเรียนได้เพิ่มอีก เพราะเต็มแผนการชั้นเรียนแล้ว ดังนั้น นายผดุงศักดิ์  อุดรพิมพ์ ศึกษาธิการจังหวัด นายกิตติ ณรัฐกิจ ผู้อำนวยการโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ได้ตกลงกันว่าจะจัดตั้งโรงเรียนประจำจังหวัดแห่งที่ 2 และได้ประสานงานกับกรมสามัญศึกษา จนในที่สุดได้ประกาศจัดตั้งเมื่อ วันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 เดิมทางจังหวัดได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า “บุรีรัมย์พิทยาคม 2” แต่ทางกรมสามัญไม่อนุมัติให้ใช้ชื่อนี้ ต่อมาศึกษาธิการจังหวัดได้เสนอชื่อ “ภัทรบพิตร” ไปยังกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้อิงนามพระพุทธรูป “พระสุภัทรบพิตร” ซึ่งเป็นพระรูปศักดิ์สิทธิ์ องค์ใหญ่ ประดิษฐานอยู่บนยอดเขากระโดง ใกล้กับที่ตั้งโรงเรียน ดังนั้น โรงเรียนมัธยมศึกษาประจำจังหวัดบุรีรัมย์แห่งที่ 2 จึงมีชื่อว่า “โรงเรียนภัทรบพิตร” ตั้งแต่นั้นมา 

                       ที่ดินของโรงเรียนได้รับการอนุเคราะห์จากแขวงการทางจังหวัดบุรีรัมย์ กรมทางหลวงแผ่นดิน อนุมัติให้ใช้ที่ดินจำนวน 85 ไร่ 73 ตารางวา เพื่อใช้เป็น ที่ตั้ง โรงเรียนโดยมีนายวสันต์ จันทร์บาล นายช่างแขวงการทางจังหวัดบุรีรัมย์ ประสานงานกับกรมทางหลวง ได้รับบริจาคเพิ่ม 13 ไร่ 2 งาน ในปี 2544 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2521 เป็นต้นมาโรงเรียนภัทรบพิตรได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ทุกด้าน เพื่อให้เหมาะสมและเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน ไว้ตอบสนองความต้องการของชุมชนที่อยู่ใกล้โรงเรียนภัทรบพิตร เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้และให้บริการได้มาจากงบประมาณความช่วยเหลือจากทางราชการและบางส่วนได้รับความช่วยเหลือจากชุมชน ได้ช่วยเสียสละ กำลังทรัพย์สิน สติปัญญา ช่วยเหลือ โรงเรียนตลอดมาทุกปี จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โรงเรียนภัทรบพิตรได้ก่อตั้งและจัดการเรียนการสอนมาแล้ว 38 ปี  ชื่อโรงเรียน ศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์ในขณะนั้นได้เสนอชื่อโรงเรียนว่า “โรงเรียนภัทรบพิต”  ไปที่กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้นับอนุมัติให้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า  “ภัทรบพิตร” อันเป็นการอิงพระนามของพระสุภัทรบพิตร ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สถิตอยู่บนเขากระโดงที่อยู่ใกล้กับบริเวณโรงเรียน